UFABET OFFICIAL เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
UFABET OFFICIAL เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
บางครั้งการฟัง เพลง ไม่ใช่เพื่อความบันเทิง แต่ยังมีเรื่องของการทำให้คนเราเกิดความสบายใจ และส่งผลต่อเนื่องไปยังเรื่องอื่นๆ อีกด้วย และนี่คือประโยชน์ของการฟังเพลงที่ส่งผลต่อสุขภาพกายและใจ
ดังนั้นแล้ว เราจึงควรหาโอกาสฟังเพลง ในเวลาว่างหรือเวลาสบายๆ หรือเวลาที่ไม่ต้องใช้ความคิด เช่น เวลารับประทานอาหาร เวลาการเดินทาง เวลาพักผ่อน เวลาออกกำลังกาย หรือแม้กระทั่งเวลาทำงานบ้าน เป็นต้น แต่จะฟังเพลงในที่ทำงาน ควรเลือกเวลา สถานที่และโอกาสให้ที่เหมาะสมด้วย จะได้ไม่เป็นการรบกวนผู้อื่น
ทั้งนี้ การฟังเพลงอาจเริ่มต้นได้ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า เราอาจจะมีวิทยุสักเครื่อง หยิบวิทยุเข้าไปฟังเพลงในห้องน้ำ เปิดเพลงเพราะๆ เสียงใสๆ เพื่อเกิดความมีชีวิตชีวาแจ่มใส กระปรี้กระเปร่า ขณะเราออกเดินทางไปทำงานควรฟังเพลงช้าที่มีเสียงร้องที่กังวานแจ่มใส ชั่วโมงทำงาน ก็อาจเลือกฟังแบบมีแค่ดนตรีบรรเลง ซึ่งการฟังเพลงประเภทนี้ จะช่วยทำให้บรรยากาศทำงานสดชื่นขึ้น
ส่วนช่วงออกกำลังกาย ควรเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็ว เพราะจะทำให้ร่างกายอยากจะออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น ตื่นตัว และสามารถออกกำลังได้เป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายที่ดีควรมีการวอร์มร่างกายก่อน โดยควรเลือกออกกำลังกายเบาๆ เปิดใช้เพลงจังหวะปานกลาง แล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นจังหวะเร็วมากขึ้น ก่อนที่จะกลับมาเป็นจังหวะปานกลางอีกครั้ง
การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพ คือ จะต้องมีอัตราชีพจรประมาณ 70% ของอัตราชีพจรสูงสุดของคนคนนั้น (220 ลบด้วยอายุ) จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว ลดไขมันส่วนเกิน และยังช่วยให้อารมณ์สดชื่นแจ่มใสขึ้นอีกด้วย
สำหรับการฟังเพลงให้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. คุณภาพของเพลงที่ฟัง ตลอดจนเครื่องเล่นเสียงที่ถ่ายทอดเพลงออกมา
2. สถานที่ที่เหมาะสมในการฟังเพลง ซึ่งจะช่วยให้ฟังเพลงได้ไพเราะขึ้น และสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับผู้ฟัง
3. โอกาสควรเป็นช่วงที่ว่าง เป็นเวลาที่ผู้ฟังมีความพร้อมที่จะฟังเพลงและมีอารมณ์มากที่สุด 4. ระยะเวลาการฟังเพลงที่เหมาะสม ถ้าฟังเพลงนานมากเกินไป จะทำให้เกิดความเบื่อ เหนื่อย และเมื่อยล้าได้ เพราะประสาทการรับฟังจะทำงานมากไป
5. ระดับการรับรู้และอารมณ์ของผู้ฟัง ประเภทของเพลงที่ฟังควรเป็นเพลงที่ไพเราะและมีความสร้างสรรค์ ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ดี หลีกเลี่ยงเพลงทำนองเศร้า หดหู่ หรือก่อให้เกิดความตึงเครียด สับสน รำคาญ ตื่นเต้นตกใจ เหนื่อย ดังนั้นเพลงที่มีจังหวะช้าและจังหวะปานกลาง จะได้รับความนิยมมาก เนื่องจากสามารถฟังได้หลายโอกาส
การอยู่บ้านนาน ๆ ช่วงนี้ทำเอาหงุดหงิดไม่น้อย ขนาดคนที่ไม่ค่อยชอบออกจากบ้านยังบ่นกันระงมว่าเริ่มจะทนไม่ไหวแล้ว เพราะปกติ ถึงเราจะเบื่อหน่ายกับการออกไปทำงาน 5-6 วันต่อสัปดาห์ แต่ก็ยังได้เปิดหูเปิดตา เปลี่ยนบรรยากาศ ได้พบปะผู้คน ตกเย็นยังได้แวะห้างกินข้าวดูหนัง ต่างจากตอนนี้ที่ทำได้แค่นั่ง ๆ นอน ๆ ในห้องสี่เหลี่ยม เสพข่าวสารเครียด ๆ แหล่งบันเทิงใจก็ไม่มี จนทำให้บางคนถึงกับจิตตกอยู่เหมือนกัน
ช่วงนี้การฟังเพลง จึงเป็นกิจกรรมที่หลายคนเลือกใช้เพื่อผ่อนคลายความเหงาเวลาอยู่บ้าน ซึ่งการใช้ดนตรีเพื่อเยียวยาอาการไม่ปกติของร่างกายนั้นศึกษากันเป็นศาสตร์เลยทีเดียว โดยที่ผ่านมามีงานวิจัย การศึกษาที่พัฒนาจนเป็นโปรแกรมดนตรีบำบัดที่ใช้รักษาผู้ป่วยได้จริง
ดนตรีบำบัด (music therapy) คือการนำกิจกรรมดนตรี ทั้งร้องเล่นเต้นรำ การแต่งเพลง การวิเคราะห์เนื้อเพลง มาบำบัดความเจ็บป่วยของร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา มีหลักฐานว่ามีการใช้ดนตรีเป็นยามานานแล้ว
ย้อนไปได้ถึงงานเขียนของอริสโตเติลและเพลโต ซึ่งเป็นความคิดที่จะนำดนตรีมาใช้บำบัดจิตใจตามแนวทางของนักปรัชญา จนมาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ก็มีการใช้ดนตรีบำบัดกับบรรดาทหารที่บาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจจากสงคราม
ในปี 1940 E. Thayer Gaston “บิดาแห่งดนตรีบำบัด” มีบทบาทสำคัญในการศึกษาดนตรีบำบัดอย่างจริงจัง จนเกิดเป็นวิทยาลัยที่เปิดสอนโปรแกรมดนตรีบำบัดครั้งแรก จากนั้นก็มีคนศึกษามาเรื่อย ๆ เช่น Buckwalter et.al (1985) พบว่าดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงร่างกายและจิตใจของมนุษย์ การแพทย์สามารถนำมาใช้ลดความกังวล ความกลัว เพิ่มการเคลื่อนไหว และสร้างแรงจูงใจ (อ้างอิงข้อมูลจาก musictherapy.org)
ด้วยดนตรีนั้นมีหลายรูปแบบ เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะดนตรีประเภทใดก็สามารถกระตุ้นการทำงานของสมองได้เกือบทุกส่วน เช่น การได้ยิน การควบคุมการเคลื่อนไหว ผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในด้านจิตใจ เร้าอารมณ์ความรู้สึก ความตระหนักรู้ ความเข้าใจ ความจำ ลดอาการซึมเศร้าได้ถึงร้อยละ 25 และช่วยบำบัดอาการนอนไม่หลับได้ด้วย
Advertisement
ในช่วงที่เราต่างต้องเผชิญกับความเครียดในทุก ๆ ด้านจาก COVID-19 สภาพจิตใจจึงจำเป็นต้องได้รับการเยียวยา ซึ่งคำแนะนำนี้มาจาก อ.วิพุธ เคหะสุวรรณ หัวหน้าสาขาวิชาดนตรีบำบัด วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ระบุว่าการฟังหรือเล่นดนตรีจะช่วยลดความเครียดและวิตกกังวลได้
เพราะไปกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมน “โดพามีน (Dopamine)” ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ เพิ่มความดันโลหิต ทำให้เรารู้สึกตื่นตัว สดชื่น กระฉับกระเฉง มีสมาธิมากขึ้น และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
ทั้งนี้ การฟังเพลงเพื่อการบำบัด ควรเลือกเพลงที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายสำหรับเราที่สุด หากเป็นเพลงที่มีเสียงธรรมชาติก็จะดีมาก โดยฟังพร้อมกับการฝึกหายใจ หายใจเข้าช้า ๆ นับ 4 วินาที กลั้นไว้ 4 วินาที จากนั้นก็ค่อย ๆ ผ่อนลมหายใจอีก 4 วินาที
ซึ่งการกำหนดลมหายใจจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทำให้เราเพลิดเพลินจนหลุดจากความเครียดในขณะนั้นได้ในระดับหนี่งเลยทีเดียว
ดังนั้น ถ้าคุณกำลังรู้สึกเครียดมาก ๆ ลองผ่อนคลายด้วยการเปิดเพลงที่ชอบฟังดู แล้วจะพบว่าดนตรีสามารถบำบัดความเครียดได้จริง
และนอกจากการฟังเพงที่ช่วยให้สุขภาพจิตดีและคลายเคลียดแล้ว ยังมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถคลายดเคลียดได้เช่นกัน
1. จิบชาเขียวร้อนเบาๆ ซักถ้วยระหว่างวัน ในชาเขียวมีกรดอะมิโน แอล-ธีอะนีน (L-theanine) ส่วนช่วยในเรื่องของระบบประสาท ให้สมองคุณผ่อนคลาย ความเครียดทั้งหลายก็จะอันตรธานหายไปในทันที
2. เสียงหัวเราะบำบัดความเครียด หนุ่มๆ คงเคยได้ยินคำว่า “หัวเราะบำบัด” กันมาบ้างแล้ว การเป็นคนมีอารมณ์ขัน และสร้างแต่เสียงหัวเราะนั้น มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคความดันสูง ช่วยปรับสมดุลให้ฮอร์โมนต่างๆ และเมื่อหนุ่มๆ มีความสุข ก็จะลืมเรื่องความเหนื่อยล้าไปโดยปริยาย
3. ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ ยามเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ลองหาโอกาสออกไปสูดออกซิเจนข้างนอกออฟฟิศกันบ้าง ใช้วิธีสูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ แล้วนับ 1-3 จากนั้นค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกมา ทำซ้ำซัก 3-4 ครั้ง รับรองว่าคุณจะรู้สึกรีเฟรชขึ้นทันตาเลยล่ะ
4. อยู่ใกล้คนอารมณ์ดีเข้าไว้ ง่ายๆ แค่นี้แหล่ะ คุณก็จะมีความสุขตาม ลืมเรื่องความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าไปเลย
5. ดื่มเครื่องดื่มรสเปรี้ยว อย่าง น้ำองุ่น หรือ น้ำกระเจี๊ยบใส่น้ำแข็งเย็นๆ ซักแก้ว ช่วยให้คุณสดชื่นขึ้นมาได้เหมือนกัน
6. กินถั่วอัลมอนด์, วอลนัท และพิสตาชิโอ้ เป็นของว่าง ถั่ว 3 ชนิดนี้อุดมไปด้วยสารอาร์จีนีน (Arginine) ที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ส่งผลให้หนุ่มๆ คลายความตึงเครียดและความเหนื่อยล้าลงได้เช่นกัน
7. เปิดเพลงฟังให้ผ่อนคลาย ในวันเครียดๆ เมื่อกลับถึงบ้านหนุ่มๆ ลองปิดอุปกรณ์สื่อสารทุกอย่างแล้วหรี่ไฟสลัวๆ เปิดเพลงแนวสบายๆ รื่นหู นอนหลับตาฟังซัก 15 นาทีให้รีแล็กซ์ เชื่อเถอะว่าคุณจะรู้สึกหายเหนื่อยขึ้นเยอะเลย
8. ใช้ธรรมชาติเข้าช่วย อาจจะลองมองออกไปนอกหน้าต่าง มองหาต้นไม้กิ่งไม้สีเขียวสบายตาที่จะช่วยให้คุณรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้น หรือจะลองหารูปภาพธรรมชาติมาแขวนไว้ในห้อง หรือวางไว้บนโต๊ะทำงานแทนก็ช่วยได้
Last Update : 30 กรกฎาคม 2020 (ข้อมูลล่าสุดปี 2020)