UFABET OFFICIAL เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

หน้าหลัก UFABET

Lazada

Lazada

Lazada ถือกำเนิดขึ้นโดยทีมงานจาก Rocket Internet GmbH นั้น คงต้องบอกว่าหากซีกโลกตะวันตก มีชื่อของ Amazon เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce รายหลัก ทีมงานผู้พัฒนาอย่าง Rocket Internet ก็ตั้งเป้าให้ “Lazada” เป็นแพลตฟอร์ม e-Commerce รายหลักแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน

Lazada

โดยการเปิดให้บริการของ Lazada นั้น เน้นใน 6 ประเทศหลักได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม สินค้าหลักคือสินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องสำอาง ความสวยความงาม แฟชั่น ของใช้ภายในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ สมาร์ทโฟน ฯลฯ

Lazada เป็นสิ่งที่มาถูกเวลา

เพราะหากเทียบกันแล้ว Amazon ใช้เวลาในการสร้างอาณาจักรมากกว่า 10 ปี แต่ Lazada ใช้เวลาเพียง 3 ปีก็ก้าวขึ้นเป็นแพลตฟอร์มด้าน Marketplace ยักษ์ใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2013 นั้นLazada มียอดขายราว 89 ล้านเหรียญสหรัฐ ก่อนจะกระโดดขึ้นมาในปี 2014 ไปอยู่ที่ยอดขาย 350 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว

เรื่องนี้ผู้บริหาร Lazada ยกความดีให้การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีประชากรรวมกันมากกว่า 600 ล้านคน และมีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักช้อปออนไลน์กว่า 256 ล้านคน ว่ามีส่วนช่วยผลักดัน ประกอบกับการจัดโปรโมชันต่าง ๆ ไปจนถึงการแจกรหัสส่วนลด

Lazadaออกมามากมายให้นักช้อปออนไลน์ได้เอาไปใช้งานกัน แต่จริง ๆ แล้วต้องบอกว่าส่วนหนึ่งที่สำคัญมากคืองบในการโปรโมตที่ Lazadaใช้ทุกช่องทาง ทุกสื่อ และถือเป็นเว็บแรก ๆ ที่มีการโปรโมตผ่านทางทีวี (ที่ในยุคนั้นค่าโฆษณาทางทีวีก็ไม่ได้ลดแลกแจกแถมเหมือนในยุคนี้)

ในด้านการพัฒนาของตัวเว็บไซต์ ในปี 2013 Lazadaได้เริ่มพัฒนาการเป็นหน้าร้าน (Marketplace Model) อนุญาตให้ผู้ค้ารายอื่น ๆ เข้ามาขายสินค้าของตนเองได้มากขึ้น ซึ่งต่อมาในปี 2014 ก็พบว่ายอดขายจาก Marketplace นั้นคิดเป็น 65% ของยอดขายทั้งหมดของบริษัท

แต่การเติบโตของLazada เตะตายักษ์ใหญ่จากแดนมังกรอย่าง Alibaba ของ Jack Ma เข้าอย่างจัง นั่นจึงทำให้เกิดการเจรจาก่อนจะนำมาซึ่งการซื้อกิจการ Lazadaเมื่อเดือนเมษายน 2016 โดย Alibaba ได้จ่ายเงินไปทั้งสิ้น 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

(เข้าซื้อหุ้นจากการเพิ่มทุน และซื้อหุ้นจากนักลงทุนเดิม) ในการเข้าถือหุ้นใหญ่ของLazada และจากการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้มูลค่าบริษัทLazada ขึ้นไปอยู่ที่ 1,500 ล้านเหรียญ หรือเกือบ 52,600 ล้านบาท

การขยับครั้งใหญ่ของ Alibaba ในครั้งนี้เป็นผลมาจากวิสัยทัศน์ของ Jack Ma หัวเรือใหญ่ของ Alibaba ที่มองว่าธุรกิจของบริษัทยังอิงอยู่กับรายได้จากตลาดจีนเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นบริษัทควรจะมีการขยายไปสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น

และเขาตั้งเป้าหมายให้ Alibaba มีรายได้ครึ่งหนึ่งมาจากตลาดนอกประเทศจีน ซึ่งLazada ถือเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นเป้าหมายที่ดีที่จะช่วยต่อยอดธุรกิจของ Alibaba ตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวได้

ผลคือ Jack Ma คาดการณ์ถูกเผง เมื่อผลประกอบการไตรมาสสองของปีนี้ ทาง Alibaba ระบุว่าสามารถทำยอดขายได้มากกว่า 389 ล้านเหรียญสหรัฐจากตลาดอื่นที่ไม่ใช่ประเทศจีน สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 136% เมื่อเทียบจากปีที่แล้ว

สำนักข่าว TechinAsia ระบุว่าตัวเลขยอดขายจากตลาดนอกประเทศจีนที่ Alibaba ทำได้ในช่วงเมษายน-มิถุนายนปีนี้ถือเป็นสถิติสูงสุดที่บริษัทเคยทำมา จุดนี้ Alibaba ยอมรับว่าการเติบโตนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้ของ Lazadaที่เติบโตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ปัจจุบันLazada จึงอยู่ในฐานะ “ผู้ได้ไปต่อ” โดยมีผู้ค้าออนไลน์ทั้งในและต่างประเทศกว่า 100,000 ร้านค้า และแบรนด์สินค้ากว่า 2,500 แบรนด์ ให้บริการแก่ผู้บริโภคกว่า 560 ล้านคนทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยทุกวันนี้ จำนวนคนเข้าเว็บไซต์Lazada เฉลี่ยใน 1 ปี มากกว่าจำนวนคนเข้าตลาดนัดจตุจักรถึง 50 เท่า โทรศัพท์มือถือที่Lazada ขายได้ทั้งหมดคือ 1.4 ล้านเครื่อง ซึ่งถ้านำมาต่อกันจะมีความสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 ถึงสองร้อยตึก ส่วนรถส่งสินค้านั้น ภายใน 1 วันพบว่าวิ่งเป็นระยะทางเฉลี่ย 833,333 กิโลเมตร หรือเท่ากับระยะทางไป-กลับระหว่างโลกกับดวงจันทร์ ซึ่งไม่ใช่ตัวเลขที่น้อยเลย

ในสถานการณ์ที่หลาย ๆ คนมองว่าแพลตฟอร์มดิจิทัลคือทางรอดของคนค้าขาย นี่จึงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของการลงทุนพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับผู้ค้าและผู้ซื้อ ที่ลงทุนทำจริง และเติบโตได้จริง

เหตุผลที่ Alibaba ซื้อกิจการ lazada

เพราะถึงเวลาแล้วที่ต้องหาตลาดอื่นนอกจากจีน

ความสำเร็จของ Alibaba นั้นส่วนใหญ่จะอยู่ภายในประเทศจีน ซึ่ง Alibaba นั้นก็ได้มีลูกค้าจากเว็บ Taobao และ Tmall มากกว่าปีละ 407 ล้านคน โดยนับได้ว่าเป็นสองเท่าของคู่แข่งอย่าง JD และ Amazon ในจีน ซึ่ง Jack Ma ก็ยังวางแผนและประกาศกลยุทธ์ที่จะขยายพื้นที่ของ Alibaba ไปยังพื้นที่ต่างๆในประเทศจีน

โดยเฉพาะพื้นที่ตามแถบชนบทที่ยังไม่เคยใช้บริการ E-commerce พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพในการขนส่งสิ่งของเพื่อที่จะเข้าถึงพื้นที่ต่างๆในประเทศจีนได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการเข้าถึงทุกพื้นที่และเพื่อให้ Alibaba เป็นที่รู้จักของคนทั่งประเทศเลยก็ว่าได้

ซึ่งในปี 2003 Jack Ma เปิดตัว Taobao แล้วก็สามารถเอาชนะ E-Bay ในจีนได้ และการเทคโอเวอร์ Lazadaครั้งนี้ เรียกได้ว่าเป็นการลงทุนข้ามชาติที่น่าติดตามอย่างมากเลยล่ะ

เพราะชนชั้นกลางใน Southeast Asia ได้มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว

ฐานลูกค้าของ Alibaba นั้นส่วนใหญ่ก็คือชนชั้นกลาง จึงทำให้ Lazadaได้พุ่งเป้าไปที่ชนชั้นกลางด้วย และใน Southeast Asia ชนชั้นกลางก็เป็นกลุ่มคนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งในตอนนี้ Southeast Asia มีประชากรประมาณ 618 ล้านคน และมีกลุ่มชนชั้นกลางเพียง 190 ล้านคน

โดยนับจากผู้ที่มีรายได้ 500 – 3,000 บาทต่อวันหรือประมาณ 15,000 – 90,000 ต่อเดือน แน่นอนว่าในตอนนี้กลุ่มชนชั้นกลางจะยังดูค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด แต่ในอนาคตกลุ่มชนชั้นกลางจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงถึง 400 ล้านคนเลยทีเดียว นับได้ว่าการลงทุน Lazadaในตอนนี้ เป็นการลงทุนในระยะยาว

บาคาร่า ufabet sa gaming

Last Update : 2 สิงหาคม 2020 (ข้อมูลล่าสุดปี 2020)